โดยทั่วไปแล้วผู้ขอสินเชื่อจะขอวงเงินสินเชื่อตามที่ตนเองต้องการใช้ในขณะนั้น
ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในการขอวงเงินสินเชื่อ
ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจในการขอวงเงินสินเชื่อ
จึงขอจำแนกปัจจัยต่างๆ พอสังเขป ดังนี้
·
วัตถุประสงค์ในการกู้
ปกติแล้วสถาบันการเงินจะพิจารณาวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อของผู้ขอสินเชื่อก่อนเป็นหลักสำคัญ
เนื่องจากจะนำมาใช้กำหนดโครงสร้างหรือประเภทการขอสินเชื่อ
เช่น เป็นวงเงินหมุนเวียน, วงเงินระยะสั้น, วงเงินระยะยาว
ฯลฯ เช่นถ้าผู้ขอสินเชื่อต้องการวงเงินเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย
ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นวงเงินระยะยาว (10-40 ปี) เพื่อให้เงินผ่อนชำระต่องวดต่ำ
ไม่เป็นภาระแก่ผู้ขอวงเงินสินเชื่อมากเกินไป ถ้ากู้ยืมเพื่อใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นวงเงินระยะสั้น – ปานกลาง (3
– 5 ปี) ถ้าจะใช้เป็นเงินหมุนเวียน ส่วนใหญ่จะเป็นเงินกู้ระยะสั้น
(1 – 3ปี) เป็นต้น
·
รายได้ของผู้ขอสินเชื่อ
โดยปกติทั่วไปสถาบันการเงินจะใช้เกณฑ์พิจารณาวงเงินสินเชื่อจากรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ
ประกอบไปกับภาระค่าใช้จ่าย ภาระหนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสมของวงเงินสินเชื่อ
(ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ)
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้จากการสัมภาษณ์ และเอกสารประกอบที่ผู้ขอสินเชื่อจัดเตรียมให้
·
ภาระค่าใช้จ่าย และภาระหนี้ส่วนตัวของผู้ขอสินเชื่อ
สถาบัน
การเงินมักจะคำนวณเงินผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อในเบื้องต้น
โดยกำหนดให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนของผู้ขอสินเชื่อไม่ควรเกินร้อยละ 35
ของรายได้รวมของผู้ขอสินเชื่อ (กรณีสินเชื่อที่อยู่อาศัย)
เมื่อกำหนดภาระผ่อนชำระต่อเดือนในเบื้องต้นได้แล้ว
จะนำภาระผ่อนต่อเดือนดังกล่าวใช้ในการคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอ
สินเชื่ออีกครั้ง โดยจะนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ
(รวมทั้งค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว)ของผู้ขอสินเชื่อ
มาหักภาระหนี้ทั้งหมดของผู้ขอสินเชื่อ
(รวมทั้งเงินผ่อนชำระที่คำนวณได้ในเบื้องต้น) ซึ่งจะต้องเพียงพอ
(ไม่ติดลบ) จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ในเบื้องต้น
·
จำนวนปี(ระยะเวลา)ที่ผ่อนชำระ
ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อว่า
ระยะเวลาที่เหมาะสมของวงเงินสินเชื่อ (ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ขอสินเชื่อ
และวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อว่า
ถ้าระยะเวลาการผ่อนชำระสินเชื่อยาวนาน จะมีผลให้เงินผ่อนชำระต่อเดือนก็จะลดต่ำลง
ซึ่งธนาคารจะสรุปปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลต่อการกำหนดวงเงินเป็นตารางอย่างง่ายๆ
ดังตารางข้างล่าง
วงเงินสินเชื่อ
|
ค่าผ่อนชำระ
|
อายุ
|
ระยะเวลากู้
|
รายได้สุทธิ
|
ภาระหนี้
|
สูงขึ้น
|
สูงขึ้น
|
น้อย
|
มาก
|
มาก
|
น้อย
|
ลดลง
|
มาก
|
มาก
|
น้อย
|
น้อย
|
มาก
|
จาก
ตารางข้างต้นจะเห็นว่า
การกำหนดวงเงินสินเชื่อมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกำหนด
แต่ข้อสำคัญที่สุดคือ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม
และการประมาณการที่เหมาะสมของผู้ขอสินเชื่อเองว่าตนเองจะสามารถผ่อน
ชำระได้เดือนละเท่าไร
ซึ่งควรเป็นอัตราผ่อนชำระที่มีการกำหนดส่วนเผื่อเหลือเผื่อขาดในกรณีฉุกเฉิน
ไว้ด้วย และเมื่อท่านมีภาระหนี้ก็ควรจะมีการวางแผนการเงิน
ต้องเผื่อค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเป็นเงินก้อนในแต่ละปีไว้ด้วย เช่น
ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
ธนาคารแลนด์
แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)